นโยบายของโรงเรียน

  1. การจัดโครงสร้างการบริหารโรงเรียน เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
  2. การมอบหมายงานตามภาระงานตรงกับทักษะความสามารถของแต่ละบุคคล ส่งผลให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ
  3. การมีส่วนร่วมของบุคลากร และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนในการกำหนดโครงสร้างการบริหาร มีผลต่อการพัฒนาโรงเรียนสูงยิ่ง
  4. การมีส่วนร่วมของประชากรทุกฝ่าย ในการกำหนดวิสัยทัศน์ ทิศทาง เป้าหมาย และภารกิจของโรงเรียน ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียน
  5. การกำหนดการพรรณนางานของทุกฝ่ายในการกำหนดวิสัยทัศน์ ทิศทาง เป้าหมาย และภารกิจของโรงเรียน ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียน
  6. ผลการปฏิบัติงานตามนโยบายของต้นสังกัด มีผลต่อการดำเนินงานในปีถัดไป
  7. การมุ่งเน้นคุณภาพของผู้เรียนสอดคล้องกับนโยบายต้นสังกัดและความต้องการของผู้เกี่ยวข้อง
  8. ประชากรในวัยเรียน (ม. 1 – ม. 6 ) ทุกกลุ่มเป้าหมายได้รับบริการจากโรงเรียนอย่างทั่วถึงทุกคน
  9. ปริมาณของนักเรียนที่เข้าเรียนไม่เป็นไปตามแผนการรับนักเรียนโดยโรงเรียนรับนักเรียนได้น้อยกว่าแผนที่กำหนด
  10. ปัจจุบันโรงเรียนมรการใช้หลักสูตรจัดการเรียนการสอนสองหลักสูตร
  11. หลักสูตรแต่ละหลักสูตรมีการจัดแนวการเรียนการสอนเป็นระบบ มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ความเปลี่ยนแปลงของวิทยาการ
  12. การจัดกิจกรรมการเรียนที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ ไม่หลากหลาย ส่งผลให้นักเรียนไม่ได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพ ความถนัด คงวามสนใจ
  13. หลักสูตรมีเนื้อหาสาระ และกิจกรรมการเรียนรู้หลากหลาย สอดคล้องกับพื้นฐานพัฒนาการความถนัด ความสนใจ และศักยภาพผู้เรียน
  14. การสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ในกิจกรรมการเรียนการสอนส่งผลให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม
  15. ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงในการค้นคว้า สังเกต รวบรวมข้อมูลคิดวิเคราะห์ คิดริเริ่มสร้างสรรค์ และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
  16. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดกิจกรรมการเรียน กรอบการประเมินผลการเรียน ส่งผลให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบและผลการปฏิบัติตามสภาพจริง
  17. ผู้เรียนได้เรียนรู้ศึกษาค้นคว้า และแสวงหาคำตอบด้วยตนเอง
  18. การนำภูมิปัญญาท้องถิ่น เทคโนโลยี และสื่อที่เหมาะสมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
  19. การกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงคู้เรียนครอบคลุมทั้งในด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ได้มาจากการมีส่วนร่วมของบุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
  20. การประเมินผลผู้เรียน ใช้การประเมินตามสภาพจริงควบคู่กับการพัฒนาผู้เรียนทั้งทางด้านทักษะ กระบวนการ ความรู้คู่คุณธรรม
  21. ความสะอาด ความร่มรื่น ความเป็นระเบียบ อบอุ่น ปลอดภัย ไม่มีมุมอับ เอื้อต่อการพัฒนาผู้เรียน
  22. การจัดระบบและมาตรการป้องกันให้โรงเรียนปลอดจากสิ่งเสพย์ติด สารพิษ มลพิษ อบายมุข มีผลต่อสุขภาพอนามัยของผู้เรียน
  23. การจัดระบบน้ำดื่ม น้ำใช้ เหมาะสมเพียงพอ สุขาภิบาล สิ่งแวดล้อม ที่ถูกสุขลักษณะต่อสุขภาพอนามัยของผู้เรียน
  24. การสำรวจความต้องการของผู้รับบริการและผู้เกี่ยวข้องเพื่อจัดบริการทางการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการ ซึ่งเป็นผลต่อการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน
  25. การกำหนดบทบาทในการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชน องค์กรภาครัฐ และเอกชน ในการพัฒนาการเรียนการสอน
  26. ผู้ปกครอง ชุมชน และผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการวางแผนดำเนินงาน สนับสนุนการเรียนรู้ และการประเมินคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน
  27. การกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทางด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ครอบคลุมความมีวินัย ความรับผิดชอบ การปฏิบัติตามหลักศาสนา ความมีเมตตา กรุณา ซื่อสัตย์สุจริต การบริโภค ใช้สอยอย่างประหยัด คุ้มค่า การปฏิบัติตนตามขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์
  28. การเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน และสังคม ซึ่งครอบคลุมการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ การใช้สิทธิเสรีภาพ การปฏิบัติตนตามกฎหมาย ระเบียบ ประเพณี การร่วมกิจกรรมการพัฒนาและการปกครองของผู้เรียน
  29. ความมีจิตสำนึก และการปฏิบัติตนของผู้เรียน ที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม ร่วมอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม ท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย ศิลปะและวัฒนธรรม
  30. ความรู้และทักษะพื้นฐานตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของผู้เรียน ที่ครอบคลุมผลสัมฤทธิ์ตามสาระการเรียนรู้ของหลักสูตร แต่ละช่วงชั้นและกลุ่มสาระการเรียนรู้
  31. ผู้เรียนมีความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนสื่อสาร
  32. ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดสร้างสรรค์และมีวิสัยทัศน์
  33. ทักษะและนิสัยแสวงหาความรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน มีวิธีการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
  34. ผู้เรียนมีทักษะในการจัดการและการทำงานที่ถูกต้อง ผลงานมีคุณภาพ รักการทำงาน มีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นเป็นทีม
  35. ผู้เรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ครอบคลุมพัฒนาการ และสมรรถภาพทางกาย พฤติกรรมการบริโภค การออกกำลังกาย การดูแลรักษาสุขภาพ และสวัสดิภาพ การปลอดจากภาวะเสี่ยงจากสิ่งเสพย์ติดมอมเมา มีมนุษยสัมพันธ์ การปรับตัวและการแสดงออกทางอารมณ์ที่เหมาะสมซึ่งเป็นผลต่อสุขภาพกาย สุขภาพจิต และบุคลิกภาพอย่างมีความสุข
  36. การรู้จักตนเอง พึ่งตนเองของผู้เรียน
  37. ผู้เรียนมีสุนทรียภาพ และลักษณะนิสัยด้านศิลปะ ดนตรี และกีฬา
  38. การบริหารจัดการของโรงเรียนที่เป็นระบบคล่องตัว ลดขั้นตอน สะดวกรวดเร็ว ตรวจสอบได้
  39. การใช้ข้อมูลสารสนเทศที่เชื่อถือได้ในการบริหารจัดการ
  40. มีแผนพัฒนาคุณภาพ แผนปฏิบัติการ แผนกลยุทธ์และตัวชี้วัดความสำเร็จ
  41. การปฏิบัติตามแผน
  42. การนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผลอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ
  43. การสรุป รายงานผลการประเมินผลการปฏิบัติตามแผนฯ แล้วเผยแพร่
  44. การนำผลการสรุปผลการประเมิน นำไปปรับปรุง ตัดสินใจในการพัฒนางานต่อไป
  45. การส่งเสริมพัฒนาครู และบุคลากร
  46. การจัดระบบประกันสุขภาพภายใน เตรียมรับการประเมินจากหน่วยงานภายนอก และการปฏิรูปการศึกษา
  47. การให้ผู้ปกครอง ชุมชน องค์กรภาครัฐและเอกชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบและพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน
  48. ระบบการสรรหาผู้บริหารที่มีคุณภาพ
  49. พฤติกรรมของผู้บริหารที่สอดคล้องกับการปฏิรูปการเรียนรู้
  50. คุณธรรม จริยธรรมและความเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้บริหาร

ภาวะผู้นำและความสามารถในการบริหารจัดการที่เป็นคุณภาพของผู้บริหาร

ผู้อำนวยการโรงเรียน

นางสาวรัชฎาพร ผิวเงิน
ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนคำเพิ่มพิทยา
093-0861479
This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

รองผู้อำนวยการโรงเรียน

นางสาวภัคประภา สุพัฒนานนท์
รองผู้อำนวยการ
โรงเรียนคำเพิ่มพิทยา